เลขที่หนังสือ | : | กค 0706/5525 | |||||||||||||||||||||||||||
วันที่ | : | 4 มิถุนายน 2550 | |||||||||||||||||||||||||||
เรื่อง | : | ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายของเสีย |
|||||||||||||||||||||||||||
ข้อกฎหมาย | : | มาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร | |||||||||||||||||||||||||||
ข้อหารือ | : |
|
|||||||||||||||||||||||||||
แนววินิจฉัย | : | กรณีบริษัท บ. จำกัด ประกอบกิจการขายส่งเวชภัณฑ์ยา ได้รับคืนสินค้าเวชภัณฑ์ยาจากลูกค้า ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ บริษัทฯ จึงมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เข้าร่วมเป็นพยานในการทำลายสินค้า กรณีในวันทำลายสินค้าไม่มีผู้สอบบัญชีหรือผู้แทนมาเป็นพยานรับรองการทำลายสินค้าเนื่องจากบริษัทฯ ได้เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่ ณ วันที่ทำลายสินค้า และบริษัทฯ ไม่ได้แจ้งมูลค่าที่ทำลายจริงและไม่ได้แจ้งว่าเศษซากสวามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายนั้น เนื่องจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541ฯ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เป็นเพียงคำสั่งที่กำหนดให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวปฏิบัติในการตรวจสอบ และแนะนำการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการทำลายของเสียเท่านั้น ดังนั้น หากบริษัทฯ มีเอกสารและหลักฐานที่ชัดแจ้งสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการทำลายสินค้าดังกล่าวจริง บริษัทฯ จึงมีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) และ (14) แห่งประมวลรัษฎากร | |||||||||||||||||||||||||||
เลขตู้ | : | 70/34967 |
Select a Region
Select a Country
Select a City
Locations