News

ค่าใช้จ่าย ค่าการศึกษา ส่งพนักงานเข้ารับการศึกษา 2

เลขที่หนังสือ : กค 0702/3297
     
วันที่ : 16 มิถุนายน 255
     
เรื่อง :

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีส่งพนักงานเข้ารับการศึกษา

     
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (13) พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
     
ข้อหารือ :
บริษัท อ. ประกอบกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง มีความประสงค์จะส่งพนักงานไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ทางด้านการตลาด และระดับปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยภายในประเทศ ซึ่งตรงกับสายงานที่ พนักงานทำอยู่ โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงานสำหรับบริษัทฯ ในอนาคต บริษัทฯ จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การศึกษาประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงปกติ ค่าบำรุงพิเศษ และค่าบริการอื่น จึงขอทราบว่า
 
1. บริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายดังกล่าว มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ หากใบเสร็จรับเงินออกในนามของพนักงาน และค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็น ประโยชน์เพิ่มของพนักงานหรือไม่
   
2. ตาม 1. หากพนักงานลาออกก่อนจบการศึกษาและบริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลแล้ว บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
   
3. บริษัทฯ ต้องทำสัญญากับพนักงานหรือไม่ หากต้องทำสัญญา บริษัทฯ ต้องกำหนดเงื่อนไขอย่างไร เมื่อ ทำสัญญาแล้ว หากพนักงานไม่สามารถอยู่ปฏิบัติงานได้ครบตามสัญญา บริษัทฯ จะต้องรับผิดหรือไม่ ค่าใช้จ่าย ทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้จ่ายไป จะนำกลับมาเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานหรือไม่
     
แนววินิจฉัย :
1.

กรณีตาม 1. บริษัทฯ ส่งพนักงานไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในมหาวิทยาลัยภายใน ประเทศ หากค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานของบริษัทฯ บริษัทฯ มีสิทธินำมาเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละร้อย ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้ารับการศึกษาหรือ ฝึกอบรม ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีสิทธิหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่าย นั้น ต้องเป็นการส่งลูกจ้าง เข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถานศึกษา ที่ทางราชการของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น หรือสถานศึกษาตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนหรือสถานฝึกอบรม ฝีมือแรงงานเฉพาะที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายเฉพาะ และการให้บริการการศึกษาหรือฝึกอบรมต้องเป็นการศึกษา หรือฝึกอบรมในประเทศไทย เพื่อพัฒนา คุณภาพ ความรู้ความสามารถ ทักษะ ฝีมือของลูกจ้างให้สูงขึ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ประกอบกับข้อ 3 และข้อ 4 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้า ศึกษาหรือฝึกอบรม ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 กรณีใบเสร็จรับเงินที่สถาบันการศึกษาระบุชื่อพนักงาน หากบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ย่อมถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร และ ไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานผู้เข้ารับการศึกษาดังกล่าว

   
 2. กรณีตาม 2. และ 3. การทำสัญญาการกำหนดเงื่อนไขระหว่างบริษัทฯ กับพนักงาน นั้น บริษัทฯ เป็น ผู้พิจารณากำหนดโดยคำนึงถึงประโยชน์ของกิจการ ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้พนักงานกลับ เข้าทำงานให้แก่บริษัทฯ หลังจากสำเร็จการศึกษาหรือผ่านการฝึกอบรมแล้ว ตามข้อ 9 ของประกาศกระทรวง การคลังฯ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 ดังนั้น หากพนักงานไม่สามารถอยู่ปฏิบัติงานได้ครบตามสัญญา หรือลาออกก่อนจบการศึกษา บริษัทฯ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ของบริษัทฯ เป็นจำนวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ประกอบกับ ประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงการใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายสองเท่าดังกล่าว สำหรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้จ่ายไป ไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานผู้เข้ารับการศึกษา
     
เลขตู้ :

71/35938