เลขที่หนังสือ |
: |
กค 0706/พ./7761 |
|
|
|
วันที่ |
: |
6 สิงหาคม 2550 |
|
|
|
เรื่อง |
: |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบกระดาษความร้อน |
|
|
|
ข้อกฎหมาย |
: |
มาตรา 86/4 มาตรา 82/5 มาตรา 82/3 มาตรา 89(3)(4)(5)(8) และ (9) มาตรา 86 และมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
|
ข้อหารือ |
: |
บริษัท อ. จำกัด ได้รับใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการบางรายซึ่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบกระดาษความร้อน บริษัทฯ ได้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เมื่อพ้นระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ได้พบว่า ข้อความในใบกำกับภาษีหมึกพิมพ์เลือน บางฉบับข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านข้อความได้ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ปัญหาดังกล่าวจะมีผลต่อการบันทึกรายงานและการจัดเก็บเอกสารทางการบัญชีหรือไม่ ดังนี้
1. |
บริษัทฯ ในฐานะผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในการบันทึกรายงานได้หรือไม่ และต้องปฏิบัติอย่างไรเมื่อพบว่า ไม่สามารถอ่านข้อความได้ |
|
|
2. |
บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีโดยใช้เครื่องพิมพ์ระบบความร้อนดังกล่าวได้หรือไม่ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร แตกต่างจากการออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษทั่วไปหรือไม่ |
|
|
|
|
|
แนววินิจฉัย |
: |
1. |
กรณีบริษัทฯ นำใบกำกับภาษีที่พิมพ์ด้วยระบบกระดาษความร้อนไปใช้เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีหรือส่งมอบให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบในขณะที่มีข้อความถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าข้อความในใบกำกับภาษีจางหายไปจนไม่สามารถอ่านข้อความได้ย่อมไม่เป็น ใบกำกับภาษีอีกต่อไป บริษัทฯ จะมีความผิดดังนี้ |
|
|
|
1.1. |
ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ กรณีไม่สามารถส่งมอบใบกำกับภาษีซื้อให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ ถือว่าเป็นกรณีไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่า มีการชำระภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ในการยื่นแบบ ภ.พ.30 จึงถือว่าเป็นกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป และเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนและยังมีความผิดในกรณีมิได้เก็บใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษีในการคำนวณภาษีไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกร้อยละสองของจำนวนภาษีที่นำมาเครดิต ทั้งนี้ ตามมาตรา 89(3)(4) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
1.2. |
ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ กรณีไม่สามารถส่งมอบสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับภาษีขาย ให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ ถือว่า เป็นกรณีผู้ประกอบการมิได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี และกรณีมิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับภาษีขายไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกร้อยละสองของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 86 มาตรา 89(5) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
|
2. |
กรณีใบกำกับภาษีที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบกระดาษความร้อนและข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านได้นั้น ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการอาจร้องขอให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีออกใบแทนใบกำกับภาษีที่ชำรุดได้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 |
|
|
|
|
เลขตู้ |
: |
70/35188 |