กรณีบริษัท ก. จำกัด จัดรายการส่งเสริมการขายด้วยการให้ของสมนาคุณแก่ลูกค้าของตัวแทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้า ครบจำนวนที่กำหนด โดยบริษัท ก. จำกัด จะเป็นผู้สั่งซื้อของสมนาคุณจากผู้ขาย (Supplier) แล้วให้ผู้ขาย (Supplier) ออก ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าในนามของตัวแทนจำหน่าย และให้ตัวแทนจำหน่ายออกเงินทดรองจ่ายให้กับผู้ขาย (Supplier)ไปก่อน การที่ผู้ขาย (Supplier) ออกใบกำกับภาษีดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ จึงเป็นการออกใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้อง ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้า ซึ่งกรณีตาม ข้อเท็จจริง ผู้ขาย (Supplier) จะต้องออกใบกำกับภาษีในนามของบริษัท ก. จำกัด ในฐานะที่เป็นผู้ซื้อของสมนาคุณ ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของสมนาคุณดังกล่าว จึงถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของบริษัทฯ ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักออก จากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกรณีบริษัทฯ เป็นผู้สั่งซื้อของสมนาคุณเอง ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของสมนาคุณดังกล่าว เป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวล รัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/3 แห่ง ประมวลรัษฎากร
|