News

ทั่วไป การยกเว้นภาษี สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิต

เลขที่หนังสือ : กค 0702/9655
     
วันที่ : 6 ธันวาคม 2554
     
เรื่อง :

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิต

     
ข้อกฎหมาย : มาตรา 27 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)ฯ
     
ข้อหารือ : กรณีการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิต โดย มีรายละเอียดสรุปความได้ว่า บริษัทฯ ได้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตโดยอาศัยประเด็นการลดหย่อนภาษีเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ผู้ เอาประกันตัดสินใจซื้อประกันชีวิต ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้ตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต และเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีหลัก เกณฑ์เป็นไปตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และผู้มีเงินได้ใช้สิทธิยกเว้น ภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้แล้ว ต่อมาหากผู้เอาประกันหรือผู้มีเงินได้ เวนคืนกรมธรรม์ หรือยก เลิกกรมธรรม์โดยไม่จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตต่อไปทำให้กรมธรรม์มีผลสิ้นสุดลง

บริษัทฯ จึงขอหารือว่า

1.

การที่ผู้เอาประกันภัยได้ตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกัน ชีวิตและเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีหลักเกณฑ์เป็นไปตาม ข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)ฯ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทำให้สามารถนำเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปหักลดหย่อนภาษีได้ซึ่งผู้เอาประกันหรือผู้มี เงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนแล้ว ต่อมาผู้เอาประกันหรือผู้มีเงินได้เวนคืนกรมธรรม์หรือยกเลิกกรมธรรม์โดยการไม่จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตอีก ต่อไปทำให้กรมธรรม์ มีผลสิ้นสุดลง ผู้เอาประกันจะต้องปฏิบัติตามข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)ฯ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หรือไม่

   
2. ให้ยกตัวอย่างกรณีที่ผู้เอาประกันหรือผู้มีเงินได้ปฏิบัติ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 ตามประกาศฉบับดังกล่าว
     
แนววินิจฉัย :
1.

การยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ย ประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)ฯ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังนี้

   
 
(1)

กรมธรรม์ประกัน ชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป กล่าวคือเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และ

   
(2) เป็นประกันชีวิต ที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
   
(3) กรณีการจ่ายเบี้ย ประกันภัยสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมไม่สามารถยกเว้นภาษีได้
   
(4) กรณีกรมธรรม์ ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ ผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ย ประกันชีวิตรายปีหรือสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลา หรือสะสมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผล ประโยชน์ตอบแทนคืน
   
  พิจารณาจากหลักเกณฑ์ของข้อ 2 ตามประกาศอธิบดีกรม สรรพากรฉบับดังกล่าวแล้ว เห็นว่ากรณีที่ผู้มีเงินได้เวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนครบกำหนดเวลา สิบปี โดยไม่จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ต่อไปนั้น ไม่ถือเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มี กำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว หากผู้มีเงินได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษี สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว จึงอยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามความในข้อ 5 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดัง กล่าวที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับ เงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้วพร้อมเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
   
2. สำหรับตัวอย่างกรณีที่ได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลัก เกณฑ์ในข้อ 2 ตามประกาศฉบับดังกล่าว เช่น
   
 
(1)

กรมธรรม์ประกัน ชีวิตที่อายุกรมธรรม์มีกำหนดเวลาไม่ถึงสิบปี

   
(2) กรมธรรม์ประกัน ชีวิตที่เอาประกันไว้กับผู้รับประกันที่มิได้ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
   
(3) กรมธรรม์ ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี หรือคืนตามช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนด เช่น จ่ายทุก 2 ปี หรือจ่าย ทุก 5 ปี เป็นต้น เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี
   
(4) กรมธรรม์ ประกันชีวิตที่ทำตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ (เฉพาะค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่าย สำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมดังกล่าว ไม่สามารถยกเว้นภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยดังกล่าวได้)
   
(5) กรมธรรม์ประกัน ชีวิตแบบอื่นที่มิได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนทุกปี หรือตามช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนด เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทน สะสมตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่จ่ายเงินคืนเกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันสะสมในระยะเวลาดังกล่าว เป็นต้น
     
เลขตู้ :

74/37938