News

ต่างชาติ จ่ายค่าบริการให้บุคคลธรรมดา ค่าตวรจสอบสินค้าก่อนนำเข้าในต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/4325
     
วันที่ :

24 กรกฎาคม 2551

     
เรื่อง :

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายค่าตอบแทนเพื่อซื้อสินค้าในต่างประเทศ

     
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(2) มาตรา 41 วรรคสอง มาตรา 50(1) มาตรา 77/2 และมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
     
ข้อหารือ :
บริษัท น. ว่าจ้างชาวจีนในประเทศจีน (ผู้รับจ้าง) เป็นผู้ติดต่อประสานงานและตรวจสอบคุณภาพสินค้ากับ SUPPLIER ในประเทศจีน ก่อนที่สินค้าจะถูกส่งมาในประเทศไทย โดยบริษัทฯ จ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับผู้รับจ้างเป็นรายเดือน ด้วยวิธีการ โอนเงินผ่านธนาคาร บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
   
1. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่ผู้รับจ้าง เงินค่าตอบแทนดังกล่าว ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ใน ประเทศไทย ตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง แห่งความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ- ประชาชนจีน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ถูกต้อง หรือไม่
     
2. กรณีการจ่ายเงินค่าตอบแทนข้างต้น เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการใน ต่างประเทศ บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกต้องหรือไม่
     
แนววินิจฉัย :
1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้ประสานงานและตรวจสอบคุณภาพสินค้ากับ SUPPLIER ในประเทศจีน ก่อนที่สินค้าจะถูกส่งมาในประเทศไทย ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เงินได้ที่ผู้รับจ้างได้รับ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ พึงประเมินจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานหรือ กิจการที่ทำในต่างประเทศตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้รับจ้างไม่ได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและ ไม่ได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน ผู้รับจ้างไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาในประเทศไทยจากค่าจ้างดังกล่าว ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
   
2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้ประสานงานและตรวจสอบคุณภาพสินค้าในประเทศจีน ไม่เข้าลักษณะ เป็นการบริการที่ทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร จึงไม่ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6 (2) แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด
     
เลขตู้ :

71/36039