News

ค่าใช้จ่าย การจำหน่ายหนี้สูญ 6

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1685
     
วันที่ : 4 มีนาคม 2552
     
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้สำหรับลูกหนี้ที่ถูกฟ้องล้มละลาย
     
ข้อกฎหมาย : ข้อ 4(3) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ
     
ข้อหารือ : บริษัทฯ หารือเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 กรณีที่บริษัทฯ ได้ฟ้องลูกหนี้ ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลายและลูกหนี้มีหนี้กับบริษัทฯ เกินกว่า 500,000 บาทขึ้นไป กรณีดังกล่าว ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และคดีอยู่ในระหว่างการประชุมเจ้าหนี้เพื่อขอให้ศาลมี คำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย หากปรากฏข้อเท็จจริงจากรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นใด ที่จะทำการแบ่งให้กับเจ้าหนี้ได้ และลูกหนี้ไม่แสดงความประสงค์จะขอประนอมหนี้ บริษัทฯ สามารถจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้ รายนั้น ออกจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานสถานะของลูกหนี้ให้กับที่ประชุมเจ้าหนี้ ทราบได้หรือไม่ หากไม่สามารถดำเนินการจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ บริษัทฯ จะสามารถใช้สิทธิดำเนินการ ขอจำหน่ายหนี้สูญได้เมื่อใด
     
แนววินิจฉัย :

กรณีที่หนี้ของลูกหนี้มีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป และบริษัทฯ ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่น คำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย บริษัทฯ มีสิทธิจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ จะต้อง ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย และได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว ตามข้อ 4(3) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534

     
เลขตู้ : 72/36459