1. |
บริษัทฯ ประกอบกิจการซ่อมอากาศยานของส่วนราชการต่าง ๆ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประเภท 4.7 กิจการผลิต หรือซ่อมอากาศยานรวมทั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศยานหรือเครื่องใช้บนอากาศยานเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 เป็นระยะเวลา 8 ปี บริษัทฯ เริ่มมีรายรับจากการให้บริการซ่อมอากาศยานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2547 และได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 จนถึงปัจจุบัน
|
|
|
2. |
เนื่องจากการซ่อมอากาศยานบางรุ่น (Model) บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์ พร้อมจ้างผู้เชี่ยวชาญจากผู้ประกอบการในต่างประเทศ เพื่อมาให้บริการในประเทศไทย โดยผู้ประกอบการในต่างประเทศ จะเรียกเก็บเงิน โดยแยกรายการค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ (Material) และค่าบริการ (Supervision Fee) ออกจากกัน ซึ่งบริษัทฯ จะจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวบางรายการให้กับผู้ประกอบการในต่างประเทศ โดยตรง ดังนี้
|
|
|
|
2.1. |
ปี 2547 ค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ (Material)
|
|
|
2.2. |
ปี 2548 ค่าบริการ (Supervision Fee) งวดแรก เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 ซึ่งในการจ่ายเงินค่าบริการดังกล่าว บริษัทฯ ไม่ได้หักภาษีเงินได้ และนำส่งภาษีตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) นำส่งกรมสรรพากร |
|
|
|
3. |
บริษัทฯ จึงหารือว่า |
|
|
|
3.1. |
กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสีย ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ อย่างไร
|
|
|
3.2. |
หากกรมสรรพากรเห็นว่า บริษัทฯ มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการจ่ายเงินค่าบริการจ้างผู้เชี่ยวชาญไปต่างประเทศ บริษัทฯ ขอให้กรมสรรพากรพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
|
|
|
|
4. |
ต่อมา บริษัทฯ ได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมดังนี้ |
|
|
|
4.1. |
บริษัทฯ ต้องจ้างผู้ควบคุมการซ่อมหรือผู้เชี่ยวชาญจากผู้ประกอบการในต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย บริษัทผู้ผลิต หรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อมอากาศยานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล เนื่องจากในการซ่อมเครื่องบินแต่ละแบบ ซึ่งความเสียหายอาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือการชำรุดตามสภาพ หรือการตรวจซ่อมตามวงรอบ การให้บริการซ่อมจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านที่มีความรู้ความชำนาญจากบริษัทผู้ผลิต หรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อมอากาศยานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลกำกับดูแล และให้การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เพื่อให้งานซ่อมบำรุงถูกต้อง และได้มาตรฐานตามข้อกำหนด
|
|
|
4.2. |
ผู้ควบคุมการซ่อมหรือผู้เชี่ยวชาญจากผู้ประกอบการในต่างประเทศมีหน้าที่ควบคุมการซ่อม ให้คำปรึกษา และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ โดยงานซ่อมส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จะเป็นผู้ดำเนินการซ่อมเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ จากบริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อมอากาศยานดังกล่าว
|
|
|
4.3. |
ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อมอากาศยานจากต่างประเทศ รวม 4 แห่ง ได้แก่ |
|