News

ต่างชาติ จ่ายให้บริษัทในต่างประเทศ - ค่าบริการที่ให้บริการในต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1788
     
วันที่ : 5 มีนาคม 2553
     
เรื่อง :

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างให้บริษัทในต่างประเทศ

     
ข้อกฎหมาย : มาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
     
ข้อหารือ :
บริษัท D ได้ว่าจ้างให้ บริษัท A ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ประเทศญี่ปุ่น มีสถานประกอบการอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (บริษัทญี่ปุ่นฯ) ทำหน้าที่เก็บค่าบริการจากลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นแทนบริษัทฯ โดย ลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นสามารถชำระค่าบริการ ผ่านบริษัทญี่ปุ่นฯ แทนการโอนเงินข้ามประเทศมาให้บริษัทฯ และบริษัทญี่ปุ่นฯ จะโอนเงิน ค่าบริการที่ลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นต้อง ชำระให้บริษัทฯ และค่าบริการที่บริษัทญี่ปุ่นฯ จัดเก็บเงินแทนบริษัทฯ คือ เงินจำนวน 800 เยนต่อใบ แจ้งหนี้ บริษัทญี่ปุ่นฯ จะส่ง เงินค่าบริการที่จัดเก็บแทนมายังบริษัทฯ ในประเทศไทยทุกๆ 3 เดือน บริษัทฯ จึงขอทราบว่า

1.

เงินค่าบริการที่บริษัทญี่ปุ่นฯ เรียกเก็บจากบริษัทฯ ถือ เป็นกำไรของบริษัทญี่ปุ่นฯ เมื่อบริษัทญี่ปุ่นฯ ไม่มีสถานประกอบการ ถาวรในประเทศไทย บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี ทั้งนี้ ตามข้อ 5 และ 7 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศ ญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ถูกต้องหรือไม่

   
2. บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ณ ที่ ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ให้แก่ผู้ประกอบการ ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และตามข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 104/2544 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้น ในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากรและกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ถูกต้องหรือไม่
     
แนววินิจฉัย :
1.

กรณีบริษัทฯ ว่าจ้างบริษัทญี่ปุ่นฯ ให้เก็บเงินค่าบริการจาก ลูกค้าของบริษัทฯ ในประเทศญี่ปุ่นแทนบริษัทฯ เงินค่าบริการ ที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่บริษัทญี่ปุ่นฯ ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่บริษัทญี่ปุ่นฯ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึง ประเมินดังกล่าว ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม เงินค่าตอบแทนดังกล่าว เป็นเงินได้หรือกำไรของวิสาหกิจ เมื่อบริษัท ญี่ปุ่นฯ มีสถานประกอบการในประเทศญี่ปุ่น ไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ตามนัยข้อ 5 แห่งอนุสัญญา ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อ การเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงิน ได้ บริษัทญี่ปุ่นฯ จึงไม่มีหน้าที่ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ทั้งนี้ ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบกับ มาตรา 3 แห่งพระราช- กฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505 บริษัทฯ จึงไม่มี หน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

   
2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินค่าบริการให้แก่บริษัทญี่ปุ่นฯ ผู้รับ บริการที่ให้บริการเรียกเก็บเงินแทนบริษัทฯ ในประเทศญี่ปุ่น ไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการใน ประเทศไทย ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวล รัษฎากร
     
เลขตู้ :

73/37175