เลขที่หนังสือ |
: |
กค 0702/4946 |
|
|
|
วันที่ |
: |
5 กรกฎาคม 2554 |
|
|
|
เรื่อง |
: |
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตั้งสำรองเงินเกษียณและเงินช่วยเหลือการลาออกของพนักงาน |
|
|
|
ข้อกฎหมาย |
: |
มาตรา 65 ตรี (1) และ (9) และ(13) แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
|
ข้อหารือ |
: |
บริษัทฯ ได้ตั้งสำรองเงินเกษียณของพนักงาน จำนวนเงิน 15,167,535.93 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ให้พนักงาน ที่ปฏิบัติงานจนอายุครบ 60 ปี เป็นจำนวน 10 เท่าของเงินเดือน ซึ่งคำนวณจากอายุของพนักงานและโอกาสความเป็น ไปได้ของพนักงานที่จะอยู่จนเกษียณตามแต่ช่วงอายุของพนักงาน และเงินสำรองช่วยเหลือการลาออกของพนักงาน จำนวนเงิน 17,238,849.71 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ในการตั้งสำรองเงินช่วยเหลือการลาออกของพนักงาน ซึ่งคำนวณ ตามอายุงานและระเบียบเงินช่วยเหลือการลาออกของบริษัทฯ พนักงานแต่ละคนมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการลาออก ตามระเบียบของบริษัทฯ ณ วันที่โอนย้ายพนักงานให้แก่บริษัทในเครือเป็นจำนวนเท่าใด บริษัทฯ จะตั้งสำรองเงิน ช่วยเหลือลาออกตามสิทธิของพนักงานแต่ละคน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทำการบันทึกบัญชีไว้ โดยมีการคำนวณรายละเอียด เป็นรายบุคคล ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินสำรองที่บริษัทฯบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายประจำปีนั้น ได้ทำการบวก กลับทั้งหมดแล้ว และเนื่องจากบริษัทฯ มีการโอนย้ายพนักงานจำนวน 332 คน ให้กับบริษัทในเครือซึ่งเป็นคนละนิติบุคคล บริษัทฯ จึงขอทราบว่า |
|
|
1. |
กรณีเมื่อมีการโอนย้ายพนักงานให้กับบริษัทในเครือ บริษัทฯ จะนำเงินสำรองเกษียณและเงินสำรองช่วยเหลือ การลาออกมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้หรือไม่ |
|
|
|
2. |
บริษัทในเครือที่รับโอนพนักงาน จะบันทึกบัญชีสำหรับเงินสำรองที่รับโอนอย่างไร |
|
|
3. |
เมื่อพนักงานที่โอนย้ายลาออก บริษัทในเครือผู้รับโอนจะบันทึกบัญชีอย่างไร |
|
|
|
|
แนววินิจฉัย |
: |
1. |
กรณีบริษัทฯ โอนพนักงานให้แก่บริษัทในเครือซึ่งเป็นคนละนิติบุคคลกัน โดยโอนเงินสำรองเกษียณ และเงินสำรองช่วยเหลือลาออกของพนักงานเป็นรายบุคคลให้แก่บริษัทในเครือ บริษัทฯ มีสิทธินำเงินสำรองที่โอนดังกล่าว มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่โอนเงินดังกล่าวนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (1) และ (9) แห่ง ประมวลรัษฎากร
|
|
|
|
2. |
กรณีตาม 2. และ 3. เมื่อบริษัทฯ โอนเงินสำรองเกษียณและเงินสำรองช่วยเหลือการลาออกของพนักงานให้แก่ บริษัทในเครือ เพื่อให้บริษัทในเครือเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินให้พนักงานที่ลาออกจากงานเป็นการโอนไปพร้อมกับความผูกพัน ที่ต้องจ่ายเงินสำรองเกษียณและเงินสำรองช่วยเหลือการลาออกของพนักงาน จึงไม่ถือเป็นเงินได้ของบริษัทในเครือ และเมื่อ บริษัทในเครือจ่ายเงินสำรองดังกล่าวให้แก่พนักงานที่ลาออกจากงาน บริษัทในเครือไม่มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการ คำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินสำรองเกษียณและเงินสำรองช่วยเหลือการลาออกของพนักงานที่บริษัทในเครือรับโอนไปนั้น ให้บริษัทฯ ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ที่รับรองทั่วไป |
|
|
|
|
เลขตู้ |
: |
74/37782 |