News

ค่าใช้จ่าย เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1299
     
วันที่ : 3 เมษายน 2551
     
เรื่อง :

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง

     
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (13) มาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
     
ข้อหารือ :
บริษัท น. จำกัด (บริษัทฯ) ได้เช่าเครื่องจักรเพื่อจะใช้ในการผลิตสินค้า ตามสัญญาเช่า แบบลิสซิ่ง (Lease agreement) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ได้ทำสัญญาขายเพื่อเช่ากลับคืน (Sale and lease back agreement) มูลค่า 20,475,350.08 บาท บริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าเริ่มต้น สัญญาเช่า (Initial rent) ซึ่งในทางบัญชีถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า หากไม่มีข้อตกลงในการจ่าย คืนในอัตราร้อยละ 50 เป็นเงินจำนวน 10,237,675.04 บาท โดยบริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีเป็นมูลค่า ทรัพย์สินส่วนหนึ่งของเครื่องจักร ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ ต้อง บันทึกการเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งเป็นทรัพย์สินของกิจการด้วยจำนวนเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของ ทรัพย์สินที่เช่า และบริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าเช่าแบบลิสซิ่งส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 สัญญาเช่ามี กำหนดเวลา 5 ปี บริษัทฯ จะซื้อเครื่องจักรดังกล่าวเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงราคา 100 บาท ตาม มูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญาบริษัทฯ ขอหารือว่า
   
1. เงินค่าเช่าแบบลิสซิ่งที่บริษัทฯ ต้องจ่ายในแต่ละปี บริษัทฯ มีสิทธิถือเป็นรายจ่าย ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญาได้ ใช่หรือไม่
     
2. เงินค่าเริ่มต้นสัญญาเช่า (Initial rent) ร้อยละ 50 เป็นเงินจำนวน 10,237,675.04 บาท และค่าซื้อเครื่องจักรดังกล่าวเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงราคา 100 บาท บริษัทฯ ต้องปฏิบัติอย่างไร
     
แนววินิจฉัย :
1. เนื่องจากสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง เข้าลักษณะเป็นการเช่าทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การจ่าย ค่าเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ตามข้อเท็จจริงข้างต้น ถ้าทรัพย์สินที่เช่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการและมิใช่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะค่าเช่าทรัพย์สินดังกล่าวโดยไม่รวม ภาษีซื้อของค่าเช่าทรัพย์สินนั้น ถือเป็นรายจ่ายจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ซึ่งบริษัทฯ มีสิทธิ นำไปบันทึกเป็นรายจ่ายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้จ่ายค่าเช่านั้นไปจริง ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
     
2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินเริ่มต้นสัญญาเช่า ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า ทรัพย์สิน และเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ มีสิทธินำเงินค่าเริ่มต้นสัญญา ดังกล่าว มาถือเป็นต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนด ให้ต่ออายุการเช่าได้หรือมีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน ในอัตรา ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการเช่าและอายุที่ต่อได้รวมกัน ตามมาตรา 4 (3) แห่ง พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
   
3. กรณีบริษัทฯ ใช้สิทธิซื้อเครื่องจักรเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ถือว่าเครื่องจักรดังกล่าว เป็น ทรัพย์สินของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ มีสิทธินำค่าซื้อเครื่องจักร โดยไม่รวมภาษีซื้อมาเป็นต้นทุนของ ทรัพย์สินเพื่อนำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินได้ ตามมาตรา 4 (5) แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
     
เลขตู้ :

71/35773