News

ทั่วไป ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้บริษัทตั้งใหม่ตามราคาพาร์

เลขที่หนังสือ : กค 0706/8536
     
วันที่ : 14 ตุลาคม 2548
     
เรื่อง :

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์

     
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(4)(ช) และมาตรา 65
     
ข้อหารือ :

นางสาว ร. และพี่น้องถือหุ้นรวมกัน 54% ในบริษัท บ. ซึ่งเป็นบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นางสาว ร. และพี่น้องมีความ
ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทขึ้นตามกฎหมายไทยเพื่อประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นอย่างเดียว (บริษัท ฮ.) ซึ่งจะถือหุ้นจำนวน 54% ของบริษัท บ. นางสาว ร. และพี่น้องจะ
โอนขายหุ้นดังกล่าวที่มีอยู่ไปให้บริษัท ฮ. ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท แต่ราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประมาณ หุ้นละ 250 บาท และบริษัท 
ฮ. จะออกหุ้นใหม่ให้แก่นางสาว ร. และพี่น้องเท่ากับราคาพาร์ของหุ้น จำนวน 54% ในบริษัท บ. จึงมีความเห็นว่า นางสาว ร. และพี่น้องสามารถโอนขายหุ้นในราคา
พาร์หุ้นละ 10 บาท โดยไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(4)(ช)  แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และการที่บริษัท ฮ. ได้รับโอนหุ้นมา จึงไม่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65  แห่งประมวลรัษฎากร

กรณี นางสาว ร. และพี่น้องโอนขายหุ้นในราคาพาร์ หุ้นละ 10 บาท ซึ่งเป็นราคาไม่เกินกว่าราคาที่ซื้อหุ้นมา จึงไม่มีผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นซึ่งตีราคา
เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนไว้ตามมาตรา 40(4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร แม้ราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ราคา 250 บาท นางสาว ร. 
และพี่น้อง ผู้โอนหุ้นดังกล่าว จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ส่วนกรณีบริษัท ฮ. ซื้อหุ้นมา ยังไม่ถือว่ามีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ จึงยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

     
แนววินิจฉัย :

1. เงินได้ที่เป็นผลประโยชน์จากการโอนหุ้น เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้มีเงินได้ได้รับจากการขายหุ้นที่ได้ซื้อไว้ตามมาตรา 1106 และมาตรา 1107 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถึงแม้บริษัทดังกล่าวจะได้ตั้งขึ้นตามเงื่อนไขของพินัยกรรม ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีไม่เข้าลักษณะที่จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในการคำนวณหาประโยชน์จากการโอนหุ้น เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณจากมูลค่าหุ้นที่ขาย หักด้วยมูลค่าหุ้นตามราคาที่กำหนดต่อหุ้น (ราคาพาร์) ณ วันที่ซื้อหุ้น 

2. การตกลงแบ่งจ่ายชำระค่าหุ้นเป็นงวด ๆ ให้คำนวณหาประโยชน์จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน โดยคำนวณตามสัดส่วนของการแบ่งจ่ายชำระค่าหุ้นเป็นงวด ๆ ตามสัญญา

     
เลขตู้ :

68/33616