การชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต : ผลประโยชน์ของผู้เสียภาษี สำนักวิชาการแผนภาษี กรมสรรพากร
|
||||||||||||||||||||||
จากวิสัยทัศน์ “ระบบงานมาตรฐานสากล เพื่อบริการประชาชน และเก็บภาษีทั่วถึง เป็นธรรม” กรมสรรพากรได้มุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่อง โดยมีตัวอย่างสำคัญ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกในการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากร ซึ่งกรมสรรพากรได้นำ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการให้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยผู้เสียภาษีนอกจากจะได้รับความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว เมื่อเร็วๆ นี้ กรมสรรพากรยังได้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี เฉพาะการยื่นรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก ๘ วัน จากวันพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด๑ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เสียภาษีลดการใช้กระดาษ อันจะช่วยลดต้นทุนของผู้เสียภาษีลงอีกทางหนึ่งด้วย ยกตัวอย่างเช่น การยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ และ ๙๑ ซึ่งต้องยื่นรายการภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ได้รับการขยายกำหนดเวลาเป็นภายในวันที่ ๘ เมษายน การยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๕๐, ๕๒ และ ๕๕ ซึ่งต้องยื่นรายการภายใน ๑๕๐ วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ได้รับการขยายกำหนดเวลาเป็น ภายใน ๑๕๘ วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี เป็นต้น
นอกจากนั้น กรมสรรพากรยังได้ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ เปิดให้บริการรับชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Credit Card) เพิ่มเติมจากการให้บริการรับชำระภาษีด้วยบัตรเครดิตที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ๕๑ แห่งในกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มช่องทางการชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้เสียภาษีมากยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ ได้ร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นการนำร่อง ผู้เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ที่ใช้บัตรเครดิตธนาคารไทยพาณิชย์สามารถกำหนดรูปแบบการชำระภาษี ซึ่งไม่มีค่าธรรมเนียมได้ทั้งแบบชำระเต็มจำนวน ปลอดดอกเบี้ยสูงสุด ๕๑ วัน หรือแบ่งชำระ ๑๐ เดือน๒ รวมถึงโปรโมชั่นพิเศษ แบ่งชำระปลอดดอกเบี้ย๓ เดือนในช่วงเทศกาลภาษี “Call for Dee Jung 0% ๓ เดือน” ตั้งแต่ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕๓ ทั้งนี้ ผู้มียอดชำระมากกว่า ๑,๐๐๐ บาท จะได้รับคะแนนสะสม ๕๐๐ คะแนน
การชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิตมีข้อดีหลายประการ อาทิ ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกสบาย มีช่องทางในการชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีความปลอดภัยสูงเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง ตลอดจนประหยัดค่าใช้จ่ายในการเสียภาษี เช่น ค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปชำระภาษีที่สาขาธนาคารหรือตู้ ATM รวมทั้งได้รับผลประโยชน์เป็นตัวเงิน จากการที่ไม่ต้องจ่ายเงินสดหรือถอนเงินฝากทันทีอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านบัตรเครดิตธนาคารไทยพาณิชย์ ตามข้อเสนอที่กล่าวมาแล้ว ผู้เสียภาษีจะได้รับผลประโยชน์เป็นตัวเงิน ดังนี้
สมมุติให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารายหนึ่งมีภาษีที่ต้องชำระ ๑๐๐,๐๐๐ บาท หากยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต จะได้รับเครดิตสูงถึง ๕๑ วัน และสามารถขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากที่เดิมต้องยื่นรายการภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม เป็นภายในวันที่ ๘ เมษายน จึงเท่ากับสามารถเลื่อนกำหนดเวลาชำระภาษีออกไปได้ถึง ๕๙ วัน หากผู้เสียภาษีรายนี้นำเงินสดที่จะใช้ในการชำระภาษีไปฝากธนาคาร หรือต้องถอนเงินฝากธนาคารออกมาชำระภาษี ช่วงเวลา ๕๙ วันดังกล่าว จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้เสียภาษีได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับเงินสด ที่นำไปฝากหรือเงินฝากที่เลื่อนระยะเวลาการถอนออกไป นอกจากนี้ ผู้เสียภาษียังสามารถแบ่งชำระภาษี ๑๐๐,๐๐๐ บาท ได้เป็นจำนวน ๓ งวด โดยปลอดดอกเบี้ย ถ้าสมมุติเพิ่มเติมให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปเท่ากับร้อยละ ๐.๗๕ ต่อปี ผู้เสียภาษีจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก สำหรับภาษีที่ต้องชำระงวดแรกเป็นระยะเวลาประมาณ ๒ เดือน งวดที่สองเป็นระยะเวลาประมาณ ๓.๕ เดือน และงวดที่สามเป็นระยะเวลาประมาณ ๕ เดือน๔ คิดเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดประมาณ ๒๐๐ บาท และเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ลดลงซึ่งสมมุติให้เท่ากับ ๒๐๐ บาทแล้ว ผู้เสียภาษีรายนี้จะได้รับผลประโยชน์เป็นตัวเงินประมาณ ๔๐๐ บาท จากการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต |
||||||||||||||||||||||
ตารางดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต
|
||||||||||||||||||||||
หากผู้เสียภาษีมีภาษีที่ต้องชำระเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยสมมุติฐานเดิมผู้เสียภาษี จะได้รับผลประโยชน์เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นอีก เช่น ผู้เสียภาษีที่มีภาษีต้องชำระ ๓๐๐,๐๐๐ บาท จะได้รั ผลประโยชน์เป็นตัวเงินประมาณ ๖๐๐ บาท
การให้บริการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต อยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยกรมสรรพากรกำลังดำเนินการร่วมกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีธนาคารพาณิชย์เปิดให้บริการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง และจะครอบคลุมทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะจะเห็นได้ว่า การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีของกรมสรรพากรเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เสียภาษีเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจและความสมัครใจในการเสียภาษีของผู้เสียภาษี ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดฐานภาษีที่ยั่งยืน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
๑ มีผลสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ยื่นรายการภาษี ระหว่างวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๗ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในคำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ๒ คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๐.๘๙ ต่อเดือน ๓ สำหรับภาษีที่ต้องชำระไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ๔ คำนวณจากระยะเวลาการให้เครดิตสูงสุดสำหรับการชำระแต่ละงวดของบัตรเครดิตซึ่งอยู่ระหว่าง ๔๕-๕๑ วัน |