คำชี้แจงกรมสรรพากร
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา
|
|
|
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 17/๒๕๕๕ ลงวันที่ 4 กรกฎาคม ๒๕๕๕ ว่า
การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาตามมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ
แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการจากัดสิทธิสามีและภริยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่าไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง กรณีจึงขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทบัญญัติตามมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งคาวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่าน คือ ตั้งแต่วันที่ ๔
กรกฎาคม ๒๕๕๕ ตามข้อ ๕๕ ของข้อกาหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทาคาวินิจฉัย
พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงได้กาหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากสามีและภริยาเพื่อให้สอดคล้องกับคาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ |
|
|
ข้อ ๑ |
การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาสาหรับปีภาษี ๒๕๕๕ เป็นต้นไปนั้น มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี
กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่
ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทากิจการร่วมกัน
หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล |
|
|
ข้อ ๒ |
การยื่นรายการของสามีหรือภริยา ให้หักลดหย่อนได้ ดังต่อไปนี้ |
|
|
|
(๑) |
สาหรับผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๔๗ (๑) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่างที่ ๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนสาหรับผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสาหรับผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐ บาท |
|
|
|
|
(๒) |
สาหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๔๗ (๑) (ข)
แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่างที่ ๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนภริยา ๓๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสาหรับผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐ บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสามีหรือภริยา |
|
|
|
ข้อ ๓ |
สาหรับบุตรและการศึกษาบุตรตามมาตรา ๔๗ (๑) (ค) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
|
|
(ก) |
กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร ๑๕,๐๐๐ บาท และการศึกษาบุตร ๒,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๕ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน ๑ คน สามีหักลดหย่อนบุตร ๑๕,๐๐๐ บาท และการศึกษาบุตรอีก ๒,๐๐๐ บาท |
|
|
(ข) |
กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร ๑๕,๐๐๐ บาท และการศึกษาบุตร ๒,๐๐๐ บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง
ตัวอย่างที่ ๖ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีบุตรด้วยกัน ๑ คน ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภริยาหักลดหย่อนบุตร ๑๕,๐๐๐ บาท และการศึกษาบุตรอีก ๒,๐๐๐ บาท (ฝ่ายละ ๑๗,๐๐๐ บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอด ปีภาษี สามีและภริยาหักได้ฝ่ายละ ๘,๕๐๐ บาท |
|
|
|
|
(๔) |
สาหรับเบี้ยประกันชีวิตตามมาตรา ๔๗ (๑) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
|
|
|
(ก) |
กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ในกรณีที่ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาได้ตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๗ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ๑๐,๐๐๐ บาท สามีหักลดหย่อน ๑๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๘ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ๑๐,๐๐๐ บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ๑๐,๐๐๐ บาท ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนส่วนของตน ๑๐,๐๐๐ บาท และส่วนของภริยา ๑๐,๐๐๐ บาท (รวม ๒๐,๐๐๐ บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน ๑๐,๐๐๐ บาท |
|
|
(ข) |
กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน เบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ๑๐,๐๐๐ บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ๑๐,๐๐๐ บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน ๑๐,๐๐๐ บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน ๑๐,๐๐๐ บาท |
|
|
|
|
|
(๕) |
สาหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพตามมาตรา ๔๗ (๑) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่างที่ ๑๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพ ๑๐,๐๐๐ บาท สามีหักได้ ๑๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๑๑ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพ ๑๐,๐๐๐ บาท ภริยาจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพ ๑๐,๐๐๐ บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน ๑๐,๐๐๐ บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน ๑๐,๐๐๐ บาท |
|
|
|
|
(๖) |
สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา ๔๗ (๑) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
|
|
|
(ก) |
กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภริยาฝ่ายที่มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน
ตัวอย่างที่ ๑๒ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ๑๐,๐๐๐ บาท ภริยากู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ๑๐,๐๐๐ บาท สามีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน ๑๐,๐๐๐ บาท |
|
|
(ข) |
กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวและร่วมกันกู้ยืม ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เต็มจานวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๑๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ ถ้าสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจานวน ๑๐,๐๐๐ บาท สามีมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมได้ทั้งจานวน ๑๐,๐๐๐ บาท |
|
|
(ค) |
กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาสมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างยังคงหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
ตัวอย่างที่ ๑๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้วฝ่ายละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภริยายังคงหักลดหย่อนได้ฝ่ายละ ๑๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม |
|
|
(ง) |
กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้ยืม ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
ตัวอย่างที่ ๑๕ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมและได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจานวน ๑๐,๐๐๐ บาท สามีหักลดหย่อนได้ ๕,๐๐๐ บาท ภริยาหักลดหย่อนได้ ๕,๐๐๐ บาท |
|
|
|
|
|
(๗) |
สำหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามมาตรา ๔๗ (๑) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่างที่ ๑๖ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจานวนที่จ่ายจริง
ตัวอย่างที่ ๑๗ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจานวนที่จ่ายจริง |
|
|
|
|
(๘) |
สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาตามมาตรา ๔๗ (๑) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
|
|
|
(ก) |
กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท และบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๑๘ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน ๓๐,๐๐๐ บาท และมารดาของตน ๓๐,๐๐๐ บาท (รวม ๖๐,๐๐๐ บาท) และถ้าสามีได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภริยาด้วย สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดาของภริยา ๓๐,๐๐๐ บาท และมารดาของภริยา ๓๐,๐๐๐ บาท (รวม ๑๒๐,๐๐๐ บาท) |
|
|
(ข) |
กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๑๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีภริยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน ๓๐,๐๐๐ บาท และมารดาของตน ๓๐,๐๐๐ บาท (รวม ๖๐,๐๐๐ บาท) ส่วนภริยาหักลดหย่อนบิดาของตน ๓๐,๐๐๐ บาท และมารดา ของตน ๓๐,๐๐๐ บาท (รวม ๖๐,๐๐๐ บาท) |
|
|
|
|
(๙) |
สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามมาตรา ๔๗ (๑) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร |
|
|
|
|
|
(ก) |
กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะ เลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลได้คนละ ๖๐,๐๐๐ บาท และให้หักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่สามีหรือภริยาเป็นผู้ดูแลได้คนละ ๖๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๒๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ๑ คน สามีหักลดหย่อนได้ ๖๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๒๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ๑ คน และภริยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ ๑ คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ ๖๐,๐๐๐ บาท และมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่ภริยาเป็นผู้ดูแลได้ ๖๐,๐๐๐ บาท (รวม ๑๒๐,๐๐๐ บาท) |
|
|
(ข) |
กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้คนละ ๖๐,๐๐๐ บาท
ตัวอย่างที่ ๒๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ๑ คน ส่วนภริยาอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพอีก ๑ คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ ๖๐,๐๐๐ บาท ภริยาหักลดหย่อน คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ ๖๐,๐๐๐ บาท |
|
|
|
ข้อ ๓ |
การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาก่อนปีภาษี ๒๕๕๕
เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคาวินิจฉัยที่ ๔๘/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๕ ว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๘๐ ดังนั้น การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาก่อนปีภาษี ๒๕๕๕ ต้องปฏิบัติตามคาวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔๘/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๕ และบังคับใช้บทบัญญัติในมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อคาวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๗/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕
จึงขอชี้แจงและประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
กรมสรรพากร
๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ |
|
|
|