คู่มือแนวทางการตรวจใบกำกับภาษีปลอม
|
||
ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีนับว่ามีความสำคัญอย่างมากที่ผู้เสียภาษีนำมาเป็นหลักฐานในการเครดิตหรือขอคืนภาษี หรือเปรียบเสมือนเป็นหลักฐานทางการเงิน ดังพบถ้าหากว่าใบกำกับภาษีไม่ถูกต้องแล้ว ผู้เสียภาษีนำมาขอเครดิตหรือขอคืนภาษีแล้ว จะทำให้รัฐเกิดความเสียหาย ในการเก็บภาษีเข้ารัฐ ใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้องมีหลายกรณี แต่ที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากก็คือ ใบกำกับภาษีปลอม เพราะว่าเป็นการจงใจเจตนา ที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีและเป็นความผิดร้ายแรง และในปัจจุบันก็ยังมีผู้เสียภาษีบางกลุ่มที่ยังใช้ใบกำกับภาษีปลอม ซึ่งเป็นปัญหาที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจต้องติดตามหรือตรวจให้พบ หรือป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ โดยหาวิธีการตรวจเพื่อเป็นแนวทางต่อไป
วิธีดำเนินการตรวจสอบใบกำกับภาษีปลอม |
||
1. | ดูปัจจัยบ่งชี้ว่ามีแนวโน้มที่จะใช้ใบกำกับภาษีปลอม โดยศึกษาพฤติกรรมของรายที่ใช้ใบกำกับภาษีปลอม โดยดูปัจจัยบ่งชี้ | |
1.1 | ดูลักษณะกิจการ ผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม ลักษณะกิจการจะไม่มีความน่าเชื่อถือ จะเป็นกิจการครอบครัว หรือบริหารแบบครอบครัว | |
1.2 | ประเภทกิจการ เป็นกิจการที่จะไม่มีใบเสร็จ หรือใบกำกับภาษีมาเป็นค่าใช้จ่ายหรือกำไรในการประกอบกิจการสูง ส่วนมากจะเป็นกิจการให้บริการ เช่นธุรกิจรับเหมา รับจ้าง ให้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ ขายวัสดุก่อสร้าง ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ | |
1.3 | การจ่ายเงินค่าสินค้า ค่าบริการ ถ้ามีการจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คเงินสดแต่ละครั้งเกิน 50,000 บาท โอกาสที่จะใช้ใบกำกับภาษีปลอมมีมาก เพราะการทำธุรกรรมทางการเงินปกติแล้วจะไม่มีการซื้อขายเป็นเงินสด จะชำระเงินเป็นเช็คเข้าบัญชี หรือโอนเงินทางธนาคาร | |
1.4 | ดูสัดส่วนการจ่ายเงินของธุรกิจหากมีการจ่ายเป็นเงินสดในสัดส่วน ที่เกิน 20% ของการจ่ายเงินทั้งหมด ก็มีโอกาสเสี่ยงในการใช้ใบกำกับภาษีปลอม | |
1.5 | ดูระยะทางที่ซื้อสินค้า หรือ บริการ ว่าห่างไกลกับสถานประกอบการหากสินค้าห่างไกลมาก มีเหตุสงสัยเพียงพอว่าเหตุใดจะซื้อสินค้าที่ห่างไกลจากสถานประกอบการ เช่น สถานประกอบการอยู่ชลบุรี ไปซื้อวัสดุที่ร้อยเอ็ด | |
1.6 | ดูค่าเฉลี่ย P/T โดยปกติกิจการให้บริการค่า P/T ไม่ควรเกิน 70% ดังนั้นถ้า ค่าP/T สูงกว่าปกติหรือสูงมากความเป็นไปได้ว่ามีการซื้อใบกำกับภาษีหรือหลบยอดขาย | |
1.7 | ผลการประกอบกิจการ การประกอบธุรกิจโดยปกติทั่วไป การกำหนดราคาสินค้า ราคาค่าบริการ จะถูกกำหนดราคาได้ต้องคำนวณต้นทุนสินค้า ค่าใช้จ่าย การขายบริการ กำไรขั้นต้นควรจะได้หรือกำไรสูงที่คุ้มการประกอบกิจการ ดังนั้นถ้ากิจการใดประกอบกิจการมีกำไรต่ำไม่เหมาะสมกับการลงทุน หรือ ประกอบกิจการแล้วขาดทุนติดต่อกันก็ยังประกอบกิจการอยู่ส่อให้เห็นความผิดปกติ | |
1.8 | ลักษณะสถานประกอบการ ก็เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาดู ถ้าสถานประกอบกิจการเป็นบ้านเช่าอยู่อาศัย ไม่มีลักษณะเป็นสถานประกอบการ ก็เป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นว่าตัวตนของผู้ประกอบการไม่ได้อยู่จริง หรือประกอบกิจการจริง | |
1.9 | ช่วงระยะเวลาที่ซื้อสินค้าสูง ปกติการซื้อสินค้า ซื้อวัตถุดิบในการประกอบกิจการ ก็ควรมีความสัมพันธ์กับการผลิต เช่น ผลิตมากก็สั่งซื้อวัตถุดิบมาก ผลิตสินค้าน้อยกำลังซื้อวัตถุดิบน้อย แต่ถ้ามียอดซื้อสูงโดยไม่มีเหตุผลสื่อให้เห็นความผิดปกติ เช่นช่วงปลายปีมียอดซื้อสูง เป็นเหตุให้เห็นว่าผู้ประกอบการพอจะมีรายจ่ายไม่เพียงพอในการคำนวณภาษี จึงมีการซื้อบิล หรือใบกำกับภาษี | |
1.10 | ดูหลักฐานการซื้อการจ้าง โดยดูหลักฐานทางการค้าการซื้อการขาย จะมีใบเสนอราคาสั่งซื้อ สั่งจ้าง ซึ่งจะมีรายละเอียดการเสนอราคา และผู้ว่าจ้าง หรือ ผู้ซื้อจะนำใบเสนอราคามาเปรียบเทียบราคา หรือรายละเอียดของเงื่อนไขที่จะได้มากที่สุด ถ้า ไม่มีใบเสนอราคา ข้อตกลงการซื้อขาย จะมีความผิดปกติพอที่จะเชื่อว่าไม่ใช่การซื้อการจ้างจริง | |
1.11 | จำนวนใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ขาย ผู้ให้บริการต่อเดือน ถ้ามีการออกใบกำกับภาษีให้รายเดิมในแต่ละเดือนหลายใบหรือหลายครั้ง แสดงให้เห็นถึงความคุ้นเคย และความผิดปกติ ของการซื้อขาย ถ้าหากมีความถี่ในการซื้อขายมากเกินไป คาดว่าอาจจะไม่มีการซื้อขายหรือให้บริการจริง | |
ตัวบ่งชี้หรือปัจจัย ครบทั้ง 11 ข้อ ที่ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นตัวบ่งชี้ผู้ประกอบการที่ส่อใช้ใบกำกับภาษีปลอม นำปัจจัยบ่งชี้ดังกล่าวตัวใดตัวหนึ่ง หรือ มากกว่าหนึ่งตัว มาคัดเลือกรายสุ่มตรวจ ถ้าหากผู้ประกอบการเข้าข่ายบ่งชี้ โดยดำเนินการตรวจดังนี้
1. เชิญพบผู้ประกอบการที่มีตัวบ่งชี้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม
2. ผู้เสียภาษีมาพบ ดำเนินการประเมินความเสี่ยง โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงการใช้ใบกำกับภาษีปลอม
แบบประเมินความเสี่ยงการใช้ใบกำกับภาษีปลอม เป็นแบบประเมินที่มีปัจจัยบ่งชี้ 11ข้อ ที่เห็นว่าเป็นตัวปัจจัยอย่างน้อย 2ข้อ มีผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมต้องมี ดังนั้นการประเมินใช้วิธีสอบถามจากผู้เสียภาษี และ นำข้อมูลภายในที่มีอยู่มากรอก เช่น ค่า P/Tเป็นต้น เมื่อประเมินแล้วถ้าคะแนนที่ได้ 44 คะแนนขึ้นไป หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงในการใช้ใบกำกับภาษีปลอม |
||
2. | ตรวจดูใบกำกับภาษีที่เป็นข้อสังเกต | |
2.1 |
ประเภทสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง |
|
2.2 | สินค้าที่ซื้อไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ | |
2.3 | ซื้อจากสถานที่ที่ไม่น่าเชื่อถือ | |
2.4 | ใบกำกับภาษีมีมูลค่าสูง, ราคาสินค้า หรือ บริการไม่น่าเชื่อถือ, เขียนด้วยลายมือ, จ่ายชำระค่าสินค้าเป็นเงินสด | |
2.5 | ซื้อจากผู้ประกอบการรายเดียว ในวันที่ติดๆกัน หรือ ใกล้กัน | |
2.6 | ใบกำกับภาษีซื้อที่มีการนำมาใช้ในช่วงปลายเดือน ปลายปี | |
2.7 | ใบกำกับภาษีไม่พิมพ์ “เล่มที่” | |
2.8 | แบบฟอร์มใบกำกับภาษีคล้ายกันหรือลายมือที่เขียนคล้ายกันแต่ชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีแตกต่าง | |
2.9 | วิธีการซื้อสินค้า ไม่ได้ซื้อจาก supplier โดยตรง แต่ซื้อจากเซลล์ หรือ พนักงานขายสินค้า | |
3. | ตรวจดูใบกำกับภาษี รายชื่อผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมในระบบ หาข้อเท็จจริงว่าปลอมหรือไม่ | |
3.1 | พิจารณาการยื่นแบบ ภ.พ. 30 ของผู้ออก | |
3.2 | พิจารณาสถานประกอบการผู้ออก | |
3.3 | พิจารณารายงานสินค้าและวัตถุดิบ (มีการบันทึกรับสินค้าหรือไม่) | |
3.4 | พิจารณาหลักฐานใบส่งสินค้า, ใบกำกับสินค้า | |
3.5 |
พิจารณาขั้นตอนวิธีการซื้อสินค้า
|
|
อ่านทั้งหมด (PDF File) |